ร่วมสร้างประเทศไทย: ปฏิบัติการโดยมหาวิทยาลัยเพื่อแก้วิกฤตชาติ

“มหาวิทยาลัย เป็นขุมพลังทางปัญญาขนาดใหญ่ที่สุด เรามีมหาวิทยาลัยร้อยกว่าแห่ง มีนิสิตนักศึกษารวมกว่าหนึ่งแสนคน มีอาจารย์นักวิจัย บุคลากรต่างๆ เป็นขุมพลัง
ที่จะแก้วิกฤตชาติ แล้วขณะนี้ชาติวิกฤตแล้ว จะเรียกว่าวิกฤตสุดๆ คำถามก็คือว่า มหาวิทยาลัยจะใช้พลังของตนในการแก้วิกฤตชาติได้อย่างไร เรา ก็ต้องมาดูว่าพลังของมหาวิทยาลัยที่มีพลังอัดแน่นอยู่จะปลดปล่อยพลังออกมาได้อย่างไร เหมือนพลังนิวเคลียร์ที่ซ่อนอยู่ในสสารมันจะปล่อยพลังออกมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างไร ก็ต้องมองหากุญแจตัวนั้น คือการพลิกมุมมอง ไม่ได้ใช่การเปลี่ยนมุมมอง ภารกิจใดที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ไม่ได้แปลว่าให้เลิกภารกิจนั้น การพลิกนั้นพลิกไปพลิกมาจากมุมมองเดิมไปสู่มุมมองใหม่ มหาวิยาลัยขณะนี้มีมุมมองจากทางวิชาการ มีภาควิชา สาขาวิชาการต่างๆ แต่มุมมองอีกด้านคือมองจากสังคมเข้ามา ถ้าเรามองจากวิชาการออกไปบางทีมองไม่ออก แต่ถ้ามองจากสังคมเข้ามาจะเห็นเยอะไปหมดเลย สิ่งที่น่าทำและทำได้ด้วย ฉะนั้นที่เสนอคือการพลิกมุมมอง มองจากข้างนอกเข้ามา ถ้าเราอยู่ข้างในมองจากวิชาการไม่เห็น มันเลยกลายเหมือนว่ามหาวิทยาลัย อยู่นอกสังคม ไม่รู้ร้อนรู้หนาว เพราะเอาวิชาการเป็นตัวตั้ง เรามองก็อาจจะไม่ รู้ว่ามีวกฤต มีคนตาย วิกฤตสุด ๆ ทางการเมืองก็ไม่มีทางออก ก็ต่อสู้กันอยู่ เรา ก็ต้องไปดูว่าจุดลึกๆ ที่สุดของวิกฤตการณ์ประเทศไทยมันอยู่ที่ไหน ก็มีการคุยกันเยอะ และที่เห็นตรงกันคือการขาดความเป็นธรรม เพราะความเป็นธรรมมีความสำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกัน ถ้าขาดความเป็นธรรมจะแตกแยกและขัดแย้งกัน และเกิดความรุนแรง ถ้ามีความเป็นธรรมก็จะอยู่กันได้ดี ผู้คนอยู่ร่วมกันและรักชาติรักบ้านเมือง
สังคมไทยขาดความเป็นธรรมทุกด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย พูดถึงความ เหลื่อมล้ำซึ่งสื่อก็ลงแทบทุกวันว่าประเทศไทยมีช่องว่างระหว่างคน รวยกับคนจน
ห่างกัน 15 เท่า ในขณะที่ประเทศนอร์เวย์ห่างกันแค่ 4 เท่า ซึ่งต้องไม่ห่างกว่า นี้ เพราะจะก่อให้เกิดอาชญากรรมมาก ตัว ช่องว่างนี้เป็นตัวที่จะบอกว่าความสำคัญนั้นคือการขาดความเป็นธรรม ผมพยายามทำมาหลายปี ชวนมหาวิทยาลัยมาทำเรื่องความเป็นธรรม ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย ก็ชวนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาหลายปี
แล้วตอน ศ.สุริชัย หวันแก้ว เป็นผอ. สถาบันวิจัยสังคมจุฬา เขามาปรึกษา เขาเจอสื่อมวลชนทุกเดือนแล้วเอาตัวเลขมาคุยกันให้เห็น สื่อมวลชนจะได้มีมิติเรื่องความเป็น
ธรรมเสียใหม่ ก็รู้สึกว่าไม่ได้ทำมีความติดขัดด้าน สาธารณสุข ก็จะเห็นการขาดความเป็นธรรม ลูกคนจนตายมากกว่าลูกคนรวยสามเท่า แต่ถ้าเอาตัวเลขมาดูจะไม่เห็นหมอที่อยู่บ้านนอกในป่าในเขา เจอคนไข้ที่เป็นคนจนความยากจนกับความอยุติธรรมทางสังคมเป็นความรุนแรงอย่างเงียบ Silence Violence และก่อให้เกิดความตายมากกว่าสงครามอีก ในศตวรรษที่แล้วสงครามทำให้คนตายไปสองร้อยล้านคน แต่คนที่ตายจาก Silence Violence มากกว่านั้นหลายเท่าก็ ลองมาดูว่าเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งสังคมไทยแสนจะไม่เข้าใจ และอะไรที่เป็นโครงสร้างนั้นแรงมาก ยกตัวอย่างทางชีววิทยา ว่าโครงสร้างทางกรรมพันธุ์กำหนดให้ช้างเป็นช้าง ม้าเป็นม้า ลิงเป็นลิง คนเป็นคน ทำอย่างไรก็ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนไม่ได้ สังคมก็เช่นเดียวกันโครงสร้างจะกำหนดให้อะไรเป็นอะไร โครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม สอนธรรมะอย่างไรอบรมธรมะอย่างไรก็ไม่เป็น ท่านพุทธทาสทำก็ไม่ดีขึ้นเพราะตัวโครงสร้าง ที่กฎหมายไม่เป็นธรรม ฉะนั้นกลไกเวลาเกิดปัญหาอะไรก็จะมองไปที่ตัวบุคคลทะเลาะกันที่ตัวบุคคลแล้ว ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ร้อยปีที่ผ่านมาสังคมไทยพยายามแก้ปัญหาก็แก้ไม่ได้ เพราะติดโครงสร้างด้านต่างๆโครงสร้างทางจิตสำนึก เราโตมาในสังคมที่ขาดความเป็นธรรมเราก็จะไม่มีจิตสำนึกเรื่องความเป็นธรรม ก็จะไม่คุ้นเคย จิตสำนึกเป็นตัวที่แรงที่สุด มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Consciousness Revolution ระบุว่าวิธีคิดกับจิตสำนึกเป็นอย่างไร วิธีคิดก็เป็นอย่างนั้น
ขอย้อนกลับไปที่โครงสร้างการศึกษา ถ้าเรามาดูการศึกษาของเราเราเอาเด็กทั้งหมด ที่ฐานมาเข้าประถม เพื่อไปมัธยมและอุดมไม่ใช่เพื่อฐานความเข้มแข็งของชุมชนท้อง
ถิ่นเลย ภาคธุรกิจบ่นมากว่าคนที่จบมหาวิทยาลัย มีลักษณะ หนึ่ง-ทำงานไม่เป็น สอง-ไม่อดทน สาม-ไม่รับผิดชอบ ตัว ระบบการศึกษาก็เช่นเดียวกัน คือเป็นระบบการศึกษาที่เอาข้างบน แทนที่จะเอาข้างล่าง การศุกษาระดับอุดมศึกษาก็แออัดยัดเยียด เราไม่ได้สร้างการศึกษาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นอย่างบูรณาการ แม้แต่อาชีวะศึกษา เราก็รังเกียจขณะที่ในประเทศเยอรมันถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เรามาจากสังคมที่ดูถูกการใช้แรงงานอย่างภาษิต “รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา” “ขอให้ได้เป็นเจ้าคนนายคน” “ขอให้ได้นั่งกินนอนกิน” ซึ่งจริงๆ แล้วคนต้องทำงาน แต่ทัศนคติเหล่านั้นคือลักษณะที่มากำหนดการศึกษาด้วย อย่างการศึกษาระดับอาชีวะศึกษาจริงๆ มีความสำคัญแต่กลับมีคุณค่าน้อย เด็กอาชีวะจึงไปตีกัน คนเราต้องมีเกียรตินะ จุดสำคัญของอาชีวะต้องสร้างคุณค่าไม่ใช่ทางเทคนิคอย่างเดียว ถ้าเราทำการศึกษา จากส่วนที่หนึ่ง เป็นการศึกษาของชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน สองทำอาชีวะศึกษา ร่วมมือกันทำหมดเลย เรียนรู้และมีอาชีพมีรายได้ด้วย ถ้าผู้ประกอบการ เขาจะมีจุดแข็งที่มหาวิทยาลัยไม่มี คือต้องทำงานเป็น รับผิดชอบ อดทน ผู้ประกอบการมีเป็นหมื่นๆ แห่งเขาเหมาที่จะเข้ามาร่วมในการศึกษา ที่เหลือเป็นการศึกษาเพื่อวิชาการ เราก็จะได้ทุ่มกำลังไปทางการทำวิจัยอะไรได้ แต่ที่ทำไม่ได้เพราะถูกจับมารวมกันหมดถ้า เราดูพระเจดีย์แห่งการพัฒนา ว่าชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานพระเจดีย์ว่าต้องเข้มแข็งแข็งแรงที่สุด ทุกระบบทั้งการศึกษา การปกครองต้องเชื่อกับฐาน อย่างระบบเศรษฐกิจไม่ได้เชื่อมอยู่กับระบบเศรษฐกิจชุมชนเป็นเศรษฐกิจที่ บูรณาการทุกเรื่อง สิ่งแวดล้อม สังคม จิตใจ เชื่อมกันหมด แต่เศรษฐกิจมหภาคของเราไปพึ่งพิงต่างประเทศ เมื่อต่างประเทศผันผวน ก็รวนไปหมด เช่นเดียวกันระบบทุกชนิดถ้าไม่เชื่อมกับชุมชนแล้วไปไม่รอด เช่น ระบบความยุติธรรม ที่ชุมชนมีความยุติธรรมชุมชน มีพ่อแม่ อาศัยพระผู้ใหญ่ช่วยกันดูแล ถ้าเราอาศัยระบบยุติธรรมของรัฐก็ไปไม่ไหว คดีเต็มไปหมด ดร.กิตติพงษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม สนใจเรื่องความยุติธรรมชุมชน ถ้าชุมชนสนใจจะดึงคดีส่วนใหญ่ไปได้ ทำให้ข้างบนทำงานได้ดีขึ้น เช่นเดียวกับระบบสุขภาพ การศึกษา ระบบต่างๆ ควรเชื่อมกับฐานอย่างเกื้อกูลกัน ยอดพระเจดีย์ก็คือ ความเป็นธรรม ก็จะประกอบกันเป็นองค์กระเจดีย์ที่มั่นคงแข็งแรงเปล่งประกายไป
ผมก็อยากจะฝากรูปของพระเจดีย์เอาไว้ มหาวิทยาลัยจะทำอะไรได้บ้าง พูดให้เหลือสาม อย่างคือ บทบาทมหาวิทยาลัยในการแก้วิกฤตชาติ
1. สร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นธรรม เราทำงานมาปีครึ่งเพื่อปฏิรูประเทศไทย ทำมาปีครึ่ง ไม่ใช่เพิ่มเริ่มทำ เรื่องที่หนึ่งคือเรื่องสร้างจิตสำนึกใหม่ สำคัญที่
สุดแต่ยากที่สุด ก็อยากฝากอาจารย์ไว้เรื่องนี้ ถาทำได้ก็เป็นเหมือนหัวรถจักรถ้ามีจิตสำนึกแห่งความเป็นธรรมได้ เรื่องต่างๆ ก็ตามมา เป็นสัมมาทิฐิ ซึ่งจะนำ
มาสู่สัมมาปฏิบัติ ผมไปร่วมประชุมกับสภาองคก์กรชุมชน เขาก็พูดกันว่าเขาอยากจะสร้างผู้นำรุ่นใหม่สักแสนคนที่มีความสุจริต และกล้าหาญ ผมก็นึกถึงว่าเราสามารถทำได้ เพราะมหาวิทยาลัยก็มีนิสิตนักศึกษาอยู่เป็นแสนๆ คน
2. สร้างฐานของชาติให้มั่นคงแข็งแรง เรา มีชาติแล้วชาติเราจะแข็งแรงได้ ฐานของชาติก็คือชุมชนท้องถิ่นเป็นทุกตารางนิ้วของพื้นที่ ทรัพยากรทุนทางสังคมอยู่ที่นั่น ผู้คนอยู่ที่นั่น ทุนทางวัฒนธรรมก็อยู่ที่นั้น ทุนทางศาสนธรรมก็อยู่ที่นั่น เป็นฐานของชาติ นี่คือชุมชนท้องถิ่น ข้างบนมันลอยตัวเป็นนามธรรมเป็นมายาคติ แต่ข้างล่างเป็นของจริงของแผ่นดิน ท้องถิ่นคือฐานของชาติ ถ้าเราสร้างฐานของชาติให้มั่นคงแล้วจะเชื่อมโยงไปเรื่องที่หนึ่งซึ่งพูดลอยๆ เข้าใจยาก
3. สังเคราะห์นโยบายสาธารณะ ที่เรียกว่า Public policy คนที่มากำหนดนโยบายสาธารณะโดยมาเป็นคนที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยไม่มีส่วนกำหนดนโยบายสาธารณะเลยเพราะไปติดอยู่ที่การส อน เป็นเรื่องสำคัญมากว่าทำอย่างไรมหาวิทยาลัยจะเข้ามาพัฒนานโยบายสาธารณะ ถามว่านโยบายขนส่งที่ผิดใครกำหนด ให้รถสิบล้อทำหน้าที่ขนส่ง ซึ่งผลาญน้ำมัน แทนที่จะขนส่งด้วยรถไฟและเรือกลไฟ แต่ก็เพราะมีคนมีรายได้มีผลประโยชน์ เหมือนอย่างไนต์คลับ อาบอบนวด ถ้าจะไปยกเลิก สาวเชียร์เบียร์ก็เดือดร้อน ก็จะประหยัดไปเยอะ หลายปีแล้วที่ผมไปนครสวรรค์ไปท่ากำนันทรง กำนันทรงบอกว่าถ้าเราขนส่งโดยเรือกลไฟ ชาวนาไทยจะได้ตังค์เพิ่มขึ้นเยอะ เพราะคนอยากสร้างถนน อยากขายรถยนต์ ไม่ใช่มหาวิทยาลัยเป็นตัวกำหนด แต่มหาวิทยาลัยก็ไม่คุ้นเคย เพราะเคยแต่สอนวิชา ถ้ามองจากสังคมเข้ามาก็จะเห็นทะลุไปถึง เราเสียเงินให้ต่างประเทศให้กับค่าเทคโนโลยีที่เราทำไม่ได้ปีละกว่าแสนล้าน ผมเคยเป็นกรรมการสภาพัฒน์ อยู่หลายปี โครงการต่อเชื่อมท่อแก๊สจากตะวันออก
ไปตะวันตก จากราชบุรีไปบางปะอิน ต้องเสียค่าที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีไปกว่าร้อยแปดสิบล้าน มันย้อนกลับไปว่าถ้าเราไม่เข้มแข็งเรื่องคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เราก็จะทำเรื่องเทคโนโลยีไม่ได้ อย่างเวียดนามเราไปดู เขากรำสงคราม เขามี PhD ด้านฟิสิกส์จำนวนมาก แต่ของเราสอนแบบประชาบาล ใครคณะไหนอยากเรียนฟิสิกส์ก็มาเรียน
เราไปเอาคนที่อยากได้ปริญญามากกว่าอยากเรียนแล้วเขาก็ไม่ได้เก่งอะไรทาง วิชาการเพราะเขาไม่ได้อยากเรียน ถ้าเราจัดการศึกษาให้เข้ารูปเข้ารอย ให้เก่งเรื่องการศึกษาวิจัย
ถ้า ใครอยากได้ข้อเขียนเรื่องนี้ไว้ เรื่องสู่สังคมแห้งการเรียนรู้ รัฐบาลเพิ่งตั้งกองทุนใหม่ เพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยนายกจะไปพึ่งภาษีบุหรี่และภาษีเหล้า เพราเรื่องใหญ่ของสังคมเรา ต้องปรับจากสังคมแห่งอำนาจไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ เพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ตั้งชื่อว่าสถาบันส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน ต่อไปจะเป็นกองทุนที่ใหญ่และเป็นเครื่องมือส่งเสริมตรงนี้มหาวิทยาลัยกับความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น หนึ่งมหาวิทยาลัยต่อหนึ่งจังหวัด การทำให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ต้องเอาท้องที่เป็นตัวตั้งเพราะท้องที่มีทุนมีอะไรเยอะแยะ แต่ที่ผ่านมาเราเอากรมเป็นตัวตั้ง ทั้งๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน คือดิน น้ำต้นไม้ แต่พอเอากรมเป็นตั้งก็แยกเป็นกรมดิน กรมน้ำ กรมต้นไม้ ต้องโทษสภาพัฒน์ที่ไม่เก่งในการขยายความคิด ซึ่งก็คือหลัก AFP –Area (พื้นที่),Function (กระบวนการ) และ Participation (การมีส่วนร่วม) ผมทำงานชุมชนมากว่าสามสิบปี ที่พูดนี่ไม่ได้พูจากทฤษฎี ผมไม่ได้รู้ทฤษฎีอะไรมาก แต่เชื่อว่า ถ้ามหาวิทยาลัยเข้าร่วมแล้ว ภายในห้าปีทุกอย่างจะดีขึ้น และเรื่องนี้ไม่ยาก แต่อาจจะไม่เคยจึงดูเหมือนยาก สำหรับเราที่ไปทำงานชุมชนก็จะรู้ว่าไม่ยาก ผมชักชวนหนึ่งมหาวิทยาลัยต่อหนึ่งจังหวัด ผมไปชวน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ดูแล จ.สงขลา ม.ทักษิณ ดูแล จ.พัทลุง ม.วลัยลักษณ์ ดูแล จ.นครศรีธรรมราช ม.นเรศวรดูแล จ.พิษณุโลก ม.รังสิต ดูแล จ.ปทุมธานี มศว ดูแล จ. สระแก้ว และนครนายก เป็นต้น เมื่อหนึ่งมหาวิทยาลัยดูแลพื้นที่หนึ่งจังหวัด พื้นที่ก็จะแคบเข้ามา ย่อมทำได้แน่นอนเพราะมหาวิทยาลัยหนึ่งๆ มีกำลังเยอะ ผมอยากเสนอว่าสิ่งที่ต้องทำก็คือ
1. สำรวจข้อมูลจังหวัด เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การทำความเข้าใจ เช่นว่าเรามีพื้นที่เท่าไหร่ ใครใช้ประโยชน์อะไร บางทีก็ตกใจว่าพื้นที่ไม่ได้เป็นประโยชน์ให้กับคนส่วนใหญ่ ก็จะเห็นพลังในจังหวัดว่าใครทำอะไร จะเห็นพลังมหาศาลเต็มพื้นที่
2. ส่งนักศึกษาไปอยู่กับชาวบ้าน ไม่ใช่ไปตั้งค่ายและไปสร้างโรงเรียน แบบนั้นเป็นการเอาวัฒนธรรมของตัวเองลงไป ต้องไปเข้าใจวัฒนธรรมชาวบ้าน นักศึกษาไปอยู่กับชาวบ้านบ้านละคน นักศึกษาเรามีเป็นแสนๆ ถ้าไปอยู่กับชาวบ้าน แม้เขาจะยากจนอย่างไร แต่เขาก็จะรักเด็ก ก็จะหากบหาเขียดให้กิน ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อหลายปี
ที่แล้วเขาส่งนักศึกษาไปที่ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ชาวบ้านก็เอากบเอาเขียดให้กิน เด็กก็เรียกพ่อเรียกแม่ ถ้าทำได้ต้องรีบทำ เดี๋ยวนี้มีคนไปยุยงให้เกลียดกันให้ประเทศมันแตกร้าว แต่นักศึกษาลงไปเป็นแสนคนก็จะเกิดความรัก ไม่ต้องไปอยู่นาน ไปอยู่สักสัปดาห์ สองสัปดาห์ก็พอ เพื่อเรียนรู้ แต่จุดสำคัญอยู่ตรงนี้ครับ คือ พลังมีเยอะ แต่คนข้างบนไม่เข้าใจคนข้างล่าง ถ้าคนข้างบนเข้าใจคนข้างล่างได้เมื่อไหร่เราก็จะมีพลังมหาศาลที่จะพัฒนา คนข้างบนมีใครบ้าง ก็ได้แก่ ข้าราชการ นักวิชาการ สื่อ นักธุรกิจ นักการเมือง คนเหล่านี้มีอำนาจ แต่ไม่เข้าใจคนข้างล่าง ถ้าเข้าใจจะไปได้ดี จุดสำคัญคือถ้าคนข้างบนเข้าใจคนข้างล่างบ้านเมืองก็จะไปโลด ถ้านักศึกษาไปอยู่กับชาวบ้านอาทิตย์สองอาทิตย์เขาก็จะเชื่อมต่อกับอาจารย์พ่อแม่ ทำให้เกิดความเข้าใจกันได้
3. ร่วมทำแผนชุมชน ชาวบ้านเขาจะมีการทำแผนชุมชน ร่วมกันขับเคลื่อน เมื่อขับเคลื่อนไปทุกอย่างก็ดีหมด ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การศึกษา และประชาธิปไตย ทุกอย่างก็ดีขึ้นหมดเมื่อร่วมกันขับเคลื่อน นักศึกษาที่เข้าไปอยู่กับชาวบ้านก็เข้าไปร่วมทำแผนชุมชน เวลาชาวบ้านเขาทำแผนชุมชน เขาทำแผนแก้ความยากจนได้อยู่แล้ว แต่นักศึกษาและอาจารย์ก็จะมีเทคนิควิธีที่จะเข้ามาหนุนเสริมซึ่งจะทำไปสู่ข้อต่อไปคือ
4. พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม มหาวิทยาลัยมีเทคโนโลยีมากอยู่แล้ว ผมเคยเจอมูลนิธิของสวิสเซอร์แลนด์ทำงานในพม่า พาวิศวกรที่เกษียณอายุแล้ว 3 คนไปดูว่าเขาผลิต
อะไรบ้าง เขาก็ปรับปรุง ผลิตได้ดีขึ้น คุณภาพดีขึ้น ขายดีขึ้น นี่ขนาดเขามีวิศวกรแค่สามคน แล้วเรามีเต็มเพียบเลย หากใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งสิ้นในชุมชนพลังงานชุมชนก็เป็นเรื่องใหญ่มาก
5. ส่งเสริมองค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งแต่ละจังหวัดมีสามระดับ คือ อบต. เทศบาลและ อบจ. ถ้ามหาวิทยาลัยเข้าไปดูเพื่อพัฒนาว่าทำอย่างไรให้เขาทำงานได้ดีขึ้น ถ้า อบต. แข็งแรง เข้มแข็ง เก่ง ก็แก้ปัญหาได้หมด
6. สังเคราะห์ประเด็นนโยบายจากการปฏิบัติ เพราะคนที่ปฏิบัติเขาจะรู้ว่าอะไรที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน ถ้ามหาวิทยาลัยเข้าไปช่วยก็จะช่วยสังเคราะห์ได้ ถ้าเราลอยตัวก็จะไม่เข้าใจว่าประเด็นนโยบายอะไรมีปัญหาในทางปฏิบัติ
7. ทำการสื่อสาร เพราะชุมชนท้องถิ่นอาจจะทำได้ระดับหนึ่ง แต่มหาวิทยาลัยสามารถสื่อสารได้ไกลกว่า และการสื่อสารก็เป็นเครื่องมือของเรื่องนโยบายสาธารณะ
8. ผลิตกำลังคนที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ ตอนนี้เรามีความร่วมมือระหว่าง อบต. กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลิตพยาบาลชุมชน โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ เมื่อจบ
แล้ว อบต. รับไปทำงานในชุมชนแล้วจ่ายเงินเดือนให้ด้วย ถ้ามีความร่วมมือกันตรงนี้ ต่อไปงบประมาณที่มหาวิทยาลัยจะได้จะมาจากท้องถิ่น งบประมาณจากส่วนกลางจะหดลง
9. ศูนย์จัดการความรู้ในพื้นที่ ถ้ามหาวิทยาลัยเข้าไปสำรวจรู้ว่าใครทำอะไรอยู่ที่ไหน สักพักมหาวิทยาลัยก็จะเป็นศูนย์จัดการความรู้ในท้องที่อื่นๆ เป็น ของแถม เมื่อสักครู่ผมกล่าวถึงแนวทางหลายเรื่อง แต่มีของแถมที่ทำอะไรได้อีกมาก เช่น ศูนย์นวัตกรรมทางสังคม เพราสังคมมีความขัดแย้งและโกลาหล ซับซ้อน คนมักจะเข้าใจผิดว่าคู่ตรงข้ามของความรุนแรงคือสันติภาพ แต่ไม่ใช่ คู่ตรงข้ามของความรุนแรงคือความสร้างสรรค์ เพราะในสังคมที่ซับซ้อนมันติดขัดอยู่ และสร้างสรรค์ไมได้ หากสามารถสร้างสรรค์ได้มหาวิทยาลัยอาจจะมาทบทวนตัวเอง ตอนที่เราตั้ง สสส. ขึ้นมาใหม่ๆ นวัตกรรมทางสังคมเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งได้เคยคุยกับคุณทักษิณในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรีว่า ทางออกคือนวัตกรรมทางสังคม เราต้องการความรู้ใหม่ นวัตกรรมใหม่ ที่จะออกจากสังคมที่ซับซ้อน นอกจากนี้แล้ว มีคนกล่าวว่า “ถ้าเรามีนักข่าวที่เก่งๆ สักพันคน ประเทศเปลี่ยน” นักข่าวมีความรู้อยู่ในตัว และมหาวิทยาลัยก็มีวิชาการ บางมหาวิทยาลัยก็มีเงินเป็นหมื่นล้าน ก็น่าจะให้ความรู้แก่นักข่าว จัดการเรียนที่ส่งเสริมนักข่าวให้เขาเรียนได้โดยทำงานด้วย ถ้ามหาวิทยาลัยมีทุนที่จะเสนอให้นักข่าว ให้เหมาะกับการทำงานของเขา ไม่ใช่ให้เรียนแล้วกลับไปทำงานเดิมไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ ถ้ามอง
จากวิชาการจะมองไม่ออก ต้องมองจากสภาพสังคมเข้ามา
สุดท้าย เป็นเรื่องนโยบายและการปรับตัวของมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องอาศัยส่วนต่างๆ ต่อไปนี้
1. นายกรัฐมนตรี พร้อมที่จะจัดทรัพยากรสนับสนุน
2. รมต. รมช. และ สกอ. ที่ต้องเข้ามารับนโยบาย
3. มหาวิทยาลัย ซึ่งต้องปรับโครงสร้างและวิชาการ ก็ต้องดูโครงสร้างและให้คุณค่าทางวิชาการแบบใหม่ สร้างแรงจงใจ ไม่เช่นนั้นก็ทำไม่ได้ จะไปว่าบรรดาอาจารย์ก็
ไม่ได้ ผมเคยเป็นกรรมการพิจารณาเรื่องตำแหน่งวิชาการ มีอาจารย์ที่ทำงานด้านหัวใจเด็ก แต่ขอตำแหน่งโดยอ้างผลงานเรื่องการศึกษา คณะกรรมการให้ความเห็นว่าไม่
เข้าเกณฑ์ แต่ผมเห็นว่าเข้าเกณฑ์ เพราะการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ นี่คือตัวอย่าง
4 คณะทำงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยกับการแก้วิกฤตชาติที่ สกอ. ผมก็จบลงที่ตรงนี้และหากผมพูดอะไรล่วงเกินไปก็ขออภัยท่านอาจารย์ทั้งหลายด้วย”
ที่มา:สำนักข่าว สสส. และ http://www.bangkokbiznews.com
Update:2-08-53
อัพเดทเนื้อหาโดย:คีตฌาณ์ ลอยเลิศ
Comments