กว่าจะเป็นวิศวกร
ในฐานะเป็นอาจารย์ผู้สอนคณะวิศวกรรมศาสตร์คนหนึ่ง มีความยินดีที่จะเผยแพร่บางแง่มุมในการผลิตวิศวกรเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของสังคม
รายการนี้ถ่ายทำที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ครับ
ตอนที่ 1
ตอนที่ 2
จากทีวีบูรพา ครับ
กบนอกกะลา กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวเกี่ยวกับอาชีพ และอาชีพนี้ถือเป็น 1 ใน 5 ของอาชีพในฝันของเด็กไทย นั่นก็คือ “ วิศวกร ” นายช่างใหญ่ผู้ทำหน้าที่สร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สร้างความเจริญและแข็งแกร่งให้แก่บ้านเมือง เป็นฟันเฟืองสำคัญในระบบอุตสาหกรรม และคิดค้นประดิษฐ์และพัฒนาข้าวของเครื่องใช้ และเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันรอบๆ ตัวเรา แต่กว่าที่คนๆ หนึ่งจะก้าวไปเป็นวิศวกรกรมืออาชีพได้นั้น จะต้องผ่านการเรียนที่ยากง่ายสักแค่ไหน และการเป็นวิศวกรที่ดีและประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องทำอย่างไร การเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์จะใช้เวลารียน 4 ปี โดยในชั้นปีที่ 1 จะเป็นการเรียนปรับพื้น ฐานในสายวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เพิ่มเติม เพื่อจะนำไปใช้ในการคำนวณด้านวิศวกรรม ศาสตร์ในชั้นปีต่อๆไป และที่สำคัญจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม คือวิชา Drawing หรือวิชาเขียนแบบ ซึ่งถือว่าเป็นวิชาเริ่มต้นของการเป็นวิศวกรในทุกสาขา และ วิชาการช่างๆที่นักศึกษาปีที่ 1 ทุกคนต้องได้ลงมือเลื่อย ตะไบ กลึง เจาะ เพื่อเรียนรู้วิชาการช่างกันจริงๆ เมื่อเรียนวิชาพื้นฐานจนครบแล้ว ในชั้นปีที่ 2 และ 3 จะเป็นการเรียนลึกลงไปในวิศวกรรมสาขาต่างๆ มากขึ้น เช่น วิศวกรรมโยธา จะต้องเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการก่อสร้างทั้งหมด,วิศวกรรมอุตสาหการ จะเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น แต่การเรียนวิศวกรรมศาสตร์นั้น จะต้องเน้นการเรียนในภาคปฏิบัติให้เข้มข้น เพื่อให้ว่าที่วิศวกรทั้งหลายได้เข้าใจในทุกกระบวนการ ในการทำงานจริง และก่อนที่นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์จะขึ้นเรียนในชั้นปีสุดท้ายนั้น นักศึกษาทุกคนจะได้ฝึกงานตามสาขาที่ได้เรียนมาในสถานที่ทำงานจริง ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกใช้ชีวิตการทำงาน การรับผิดชอบและต้องตื่นเช้า เข้าทำงาน ร่วมกับพนักงานคนอื่นๆ และในการเรียนชั้นปี 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย ถือว่าเป็นการเรียนที่นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ทุกคนจะต้องนำความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด 3 ปีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโครงงานที่ทำให้ใช้งานและเกิดประโยชน์ได้จริง จึงจะถือว่าการเรียนวิศวกรรมศาสตร์นั้นประสบความสำเร็จ แต่ในชีวิตจริงแล้วการเป็นวิศวกรนั้นจะต้องพบเจอกับปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง และสิ่งสำคัญในการเป็นวิศวกรนอกจากมีความรู้ความสามารถแล้วจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
Comments