ความไม่ซื่อสัตย์ต่อการทำวิจัย (1)

ด้วยความจำเป็นในการทำงานวิจัย และนำเสนอผลงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการทำเพื่อปริญญา ความก้าวหน้าในวิชาชีพ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่มากไปกว่าเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเองและสังคม การเร่งเพื่อให้ได้ผลงานเพื่อได้รับการยอมรับและตีพิมพ์เผยแพร่นั้นเพิ่มโอกาสให้กับผู้ที่อ่อนแอ (ในเชิงจริยธรรม) ที่มาทำงานวิจัยและนำเสนอผลงานวิจัยมีโอกาสที่จะหลงผิด สร้างความไม่ซื่อสัตย์ในงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการแอบอ้างหรือลอกงานคนอื่นมาเป็นงานของตนเอง การสร้างข้อมูลขึ้นมาโดยไม่ได้ทำการทดลองจริง การเจตนาทำให้ผลที่วัดได้ดีกว่า หรือแย่กว่าความเป็นจริง ล้วนเป็นตัวอย่างของความไม่ซื่อสัตย์ทั้งสิ้น





ตัวอย่างที่หนึ่งคืองานของ Jon Sudbø ชาวนอร์เวย์ ซึ่งเคยเป็นทั้งทันตแพทย์ แพทย์ และนักวิจัยใน Norwegian Radium Hospital ในกรุง Oslo โดยสารภาพในเดือนมกราคม ปี 2006 ว่าเขาได้สร้างข้อมูลเทียมว่ามีคนไข้ในการเก็บข้อมูลจำนวน 900 คน และสร้างข้อมูลขึ้นว่าในบทความ Non-steroidal anti-inflammatory drugs and the risk of oral cancer: a nested case-control studyที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำด้านการแพทย์ Lancet และมากไปกว่านั้นยังพบว่าผลงานตีพิมพ์กว่า 30 เรื่องของเขาล้วนไม่น่าเชื่อถือเนื่องจากสร้างข้อมูลขึ้นมาเอง ปัจจุบันเขาได้ถูกให้ออกจากงาน และอาจถูกดำเนินคดีอาญาเนื่องจากเงินวิจัยที่ใช้ในการดำเนินการนั้นมาจากงบประมาณของประเทศ


ข้อมูลจาก Nature 445, 244-245 (18 January 2007) doi:10.1038/445244a

และยังมีอีกเยอะครับ

Comments