นักศึกษาจะได้ทุนสำหรับอะไรบ้างจากทุน คปก.
หากนักศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก
1. ค่าใช้จ่ายของผู้ช่วยวิจัย (ประมาณ) 1,052,000 บาท
1.1 ค่าใช้จ่ายประจำเดือนในประเทศไทย (5 ปี สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์) 552,000 บาท
หมายเหตุ
(ก) สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และหลักสูตร ป. ตรี เกิน 4 ปี เดือนละ 9,000 บาท
(ข) ผู้รับทุนผู้ช่วยวิจัยที่ได้รับเงินเดือนประจำอยู่แล้ว (เช่น เป็นข้าราชการลาศึกษา) จะได้รับค่าใช้จ่ายประจำเดือน เฉพาะส่วนที่ได้ต่ำกว่าอัตราในข้อ (ก)
(ค) ผู้รับทุนผู้ช่วยวิจัยที่มีวุฒิปริญญาตรี เมื่อศึกษาครบ 2 ปีแล้ว หากผลการศึกษาเป็นที่น่าพอใจ จะได้รับค่าใช้จ่ายประจำเดือนเพิ่มขึ้นเท่ากับผู้มีวุฒิปริญญาโท
1.2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การศึกษาวิจัย และการเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ ได้แก่
ค่าเครื่องบินชั้นประหยัดไม่เกิน 3 ครั้ง ค่าเตรียมเดินทาง ครั้งแรก 20,000 บาท ครั้งต่อไป 10,000 บาท
ค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ ตามเกณฑ์ ก.พ. และค่าประกันสุขภาพ 500,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการศึกษาวิจัย 400,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาค่าใช้จ่าย ปีละ 30,000 บาท และในการวิจัยปีละ 50,000 บาท (5 ปี)
หมายเหตุ
(ก) งบประมาณค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าใช้จ่ายในการวิจัยนี้ สามารถใช้เสริมกันได้ตามความจำเป็น
และความเหมาะสม
(ข) หลักสูตรที่มีค่าธรรมเนียมการศึกษา-วิจัย เกินปีละ 80,000 บาท ให้ใช้เกณฑ์ในข้อ (D)
(ค) สาขาที่ต้องใช้งบวิจัยสูง ควรขอทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก (วปก.) มาเสริม
หากนักศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก
1. ค่าใช้จ่ายของผู้ช่วยวิจัย (ประมาณ) 735,000 บาท
1.1 ค่าใช้จ่ายประจำเดือนในประเทศไทย (3 ปี สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์) 360,000 บาท
หมายเหตุ
• สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และหลักสูตรปริญญาตรีเกิน 4 ปี เดือนละ 11,000 บาท
1.2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การศึกษาวิจัย และการเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ ได้แก่
ค่าเครื่องบินชั้นประหยัดไม่เกิน 2 ครั้ง ค่าเตรียมเดินทางครั้งแรก 20,000 บาท ครั้งต่อไป 10,000 บาท
ค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ ตามเกณฑ์ ก.พ. และค่าประกันสุขภาพ 375,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการศึกษาวิจัย 240,000 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษาปีละ 30,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการวิจัยปีละ 50,000 บาท (3 ปี)
ส่วนกรณีอื่นๆ ศึกษาได้จาก website ของโครงการ http://rgj.trf.or.th
1. ค่าใช้จ่ายของผู้ช่วยวิจัย (ประมาณ) 1,052,000 บาท
1.1 ค่าใช้จ่ายประจำเดือนในประเทศไทย (5 ปี สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์) 552,000 บาท
หมายเหตุ
(ก) สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และหลักสูตร ป. ตรี เกิน 4 ปี เดือนละ 9,000 บาท
(ข) ผู้รับทุนผู้ช่วยวิจัยที่ได้รับเงินเดือนประจำอยู่แล้ว (เช่น เป็นข้าราชการลาศึกษา) จะได้รับค่าใช้จ่ายประจำเดือน เฉพาะส่วนที่ได้ต่ำกว่าอัตราในข้อ (ก)
(ค) ผู้รับทุนผู้ช่วยวิจัยที่มีวุฒิปริญญาตรี เมื่อศึกษาครบ 2 ปีแล้ว หากผลการศึกษาเป็นที่น่าพอใจ จะได้รับค่าใช้จ่ายประจำเดือนเพิ่มขึ้นเท่ากับผู้มีวุฒิปริญญาโท
1.2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การศึกษาวิจัย และการเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ ได้แก่
ค่าเครื่องบินชั้นประหยัดไม่เกิน 3 ครั้ง ค่าเตรียมเดินทาง ครั้งแรก 20,000 บาท ครั้งต่อไป 10,000 บาท
ค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ ตามเกณฑ์ ก.พ. และค่าประกันสุขภาพ 500,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการศึกษาวิจัย 400,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาค่าใช้จ่าย ปีละ 30,000 บาท และในการวิจัยปีละ 50,000 บาท (5 ปี)
หมายเหตุ
(ก) งบประมาณค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าใช้จ่ายในการวิจัยนี้ สามารถใช้เสริมกันได้ตามความจำเป็น
และความเหมาะสม
(ข) หลักสูตรที่มีค่าธรรมเนียมการศึกษา-วิจัย เกินปีละ 80,000 บาท ให้ใช้เกณฑ์ในข้อ (D)
(ค) สาขาที่ต้องใช้งบวิจัยสูง ควรขอทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก (วปก.) มาเสริม
หากนักศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก
1. ค่าใช้จ่ายของผู้ช่วยวิจัย (ประมาณ) 735,000 บาท
1.1 ค่าใช้จ่ายประจำเดือนในประเทศไทย (3 ปี สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์) 360,000 บาท
หมายเหตุ
• สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และหลักสูตรปริญญาตรีเกิน 4 ปี เดือนละ 11,000 บาท
1.2 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การศึกษาวิจัย และการเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ ได้แก่
ค่าเครื่องบินชั้นประหยัดไม่เกิน 2 ครั้ง ค่าเตรียมเดินทางครั้งแรก 20,000 บาท ครั้งต่อไป 10,000 บาท
ค่าใช้จ่ายในต่างประเทศ ตามเกณฑ์ ก.พ. และค่าประกันสุขภาพ 375,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการศึกษาวิจัย 240,000 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษาปีละ 30,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการวิจัยปีละ 50,000 บาท (3 ปี)
ส่วนกรณีอื่นๆ ศึกษาได้จาก website ของโครงการ http://rgj.trf.or.th
Comments