ปริมาณความจุของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ไม่ใช่ความเร็ว (Latency)
เวลาที่คุยกันเรื่องความเร็วของ Internet เมื่อขอใช้บริการ ADSL เรามักจะเรียกว่าเป็น 512K หรือ 1 Mbps ในลักษณะแบบนั้นนะครับ แต่ความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ผู้ให้บริการบอกแก่เราเมื่อสมัครใช้บริการนั้น คือ ปริมาณความจุของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ไม่ใช่ความเร็ว (Latency) นะครับ
ปริมาณความจุของช่องสัญญาณ (Bandwidth) และความเร็ว (Latency) เป็นคนละเรื่องกัน อย่างไรก็ตามทั้งสองสิ่งต้องมีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้การโหลดข้อมูล หรือ website ที่รวดเร็วนะครับ หากเปรียบเทียบแล้ว ปริมาณความจุของช่องสัญญาณเปรียบเสมือนกับท่อส่งน้ำครับ ว่ามีขนาดใหญ่แค่ไหน แต่หากว่าท่อใหญ่แต่ไม่มีน้ำ หรือท่อใหญ่แต่น้ำไหลช้าก็ย่อมทำให้เราได้น้ำน้อย (หรือก็คือปริมาณข้อมูลต่างๆ น้อยครับ)
โดยทั่วไปเวลาเราวัดความเร็ว (Latency) มักมีหน่วยวัดเรียกเป็น milliseconds (หรือ 0.00X วินาที) เทคนิคที่ใช้ในการวัดที่ง่ายสุดก็คือการ ping ครับ วิธีการใน windows คือไปที่ Start – Run และพิมพ์ cmd เมื่อได้หน้าต่างเป็นเหมือน DOS ก็พิมพ์ ping และตามด้วย ที่อยู่ครับ เช่น
ping www.yahoo.com
หรืออาจเป็นหมายเลข IP ก็ได้นะครับ เช่น
ping 68.142.197.76
ชุด ข้อมูลขนาด 32 bytes จะถูกส่งไป-กลับ แล้วเราจะวัดค่าเป็นเวลาที่ใช้ในการไปและกลับ หากเป็น host ที่อยู่ไกลก็จะใช้เวลาที่มากกว่า host ในประเทศครับ และหากเห็นว่ามี packet lost แสดงว่าอาการน่าเป็นห่วงครับ นี่คือค่า latency โดยทั่วไปที่จะพบได้ครับ
Ethernet .3ms
Analog Modem 100-200ms
ISDN 15-30ms
DSL/Cable 10-20ms
DS1/T1 2-5ms
โดย Website ที่น่าสนใจอยู่ที่นี่ครับ http://www.dslreports.com/faq/694
Comments